อองซานซูจี “ดวงประทีบนำทางของพม่าที่มีค่าควรยิ่งแก่รางวัลสันติภาพ” เป็นคำกล่าวในบทพรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 1991 เนื่องในโอกาสที่อองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบล

อองซานซูจี ลูกชายออกมาเรียกร้องกองทัพให้ปล่อยตัวมารดา

อองซานซูจี ผู้นำเมียนมาที่ถูกรัฐประหารโค่นอำนาจ บุตรชายคนสุดท้องของ ได้ออกมาเรียกร้องกองทัพให้ปล่อยตัวมารดาของเขาจากเรือนจำ

“ผมปล่อยให้แม่อิดโรยในคุกไม่ได้” คิม อริส ให้สัมภาษณ์พิเศษกับบีบีซีเมียนมาในกรุงลอนดอน เขาเรียกร้องโลกให้ช่วยเหลือมารดาของเขาให้มากกว่านี้

ถูกศาลเมียนมาตัดสินจำคุก 33 ปี ภายหลังถูกนำตัวขึ้นศาลหลายครั้ง นับแต่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของเธอในปี 2021 นับแต่รัฐประหาร เมียนมาจมดิ่งลงสู่สงครามกลางเมือง มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายหมื่นคน

กองทัพเมียนมาไม่ให้ข้อมูลสุขภาพของแม่

นายอริส สัญชาติอังกฤษ กล่าวว่า กองทัพไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเขาเลยเกี่ยวกับสุขภาพของมารดา เขาพยายามติดต่อสถานเอกอัครราชทูตเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักร และกาชาดสากล แต่ก็ไม่มีใครช่วยเหลือเขาได้

“ก่อนหน้านี้ ผมไม่อยากออกหน้าสื่อหรือเข้ามามีส่วนร่วมมากนัก” นายอริส ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกกับสื่อต่างชาติ ซึ่งในช่วงที่แม่ของเขาถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านนานเกือบ 15 ปี ช่วงปี 1989-2010 เขาก็ไม่ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อ

“มันดีกว่าที่ผมจะอยู่ห่างจากเรื่องการเมือง แม่ของผมไม่เคยอยากให้ผมเกี่ยวข้อง แต่ตอนนี้ เธอถูกตัดสินโทษ และชัดเจนว่ากองทัพเมียนมาไม่มีเหตุผลเสียเลย ผมจึงคิดว่าผมพูดสิ่งที่อยากพูดได้แล้ว”

อองซานซูจี เคยถูกวิจารณ์อย่างหนัก

นางอองซานซูจี ถือเป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตยที่สำคัญคนหนึ่งของโลก และเคยเป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยการปล่อยตัวนางอองซานซูจี จากการกักบริเวณ เมื่อปี 2010 ได้รับการเฉลิมฉลองทั่วเมียนมาและทั่วโลก

ต่อมา เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเมื่อกล่าวปกป้องเมียนมา ต่อข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หลังมีการกล่าวอ้างอย่างกว้างขวางว่า เมียนมาได้กระทำการที่โหดร้ายต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ในช่วงที่รัฐบาลของเธอยังครองอำนาจ ชาวมุสลิมโรฮิงญาเกือบล้านคนลี้ภัยหนีออกจากเมียนมาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และส่วนใหญ่กลายเป็นผู้ลี้ภัยอยู่ในบังกลาเทศ

นายอริส ไม่ตอบคำถามของบีบีซีถึงเสียงวิพากษ์วิจาณ์ในเรื่องนี้ต่อมารดาของเขาในช่วงก่อนการรัฐประหาร เขาขอให้ความสำคัญกับสิ่งที่เธอกำลังเผชิญอยู่

นางอองซานซูจี ซึ่งถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านหลังการรัฐประหาร ได้ถูกย้ายไปจองจำแบบขังเดี่ยวเมื่อปีที่แล้ว ที่เรือนจำในกรุงเนปิดอว์ ข่าวคราวของเธอหายไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ท่ามกลางข่าวลือว่าเธอป่วย ขณะที่กองทัพเมียนมาปฏิเสธรายงานดังกล่าว

การเรียนร้องต่อประชาคมโลก

นายอริส ยังร้องขอให้ประชาคมโลกแก้วิกฤตการณ์ในเมียนมา ซึ่งยอดผู้เสียชีวิตจากสงครามกลางเมืองเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังกองทัพใช้อาวุธร้ายแรงและการโจมตีทางอากาศเพื่อกวาดล้างฝ่ายต่อต้าน

เขากล่าวว่า ประชาคมโลกต้องเริ่ม “ทำอะไรสักอย่าง รวมถึงคว่ำบาตรการจำหน่ายอาวุธให้กองทัพเมียนมา หรือให้การสนับสนุนกลุ่มคนที่พยายามต่อสู้กับกองทัพ”

แม้เมียนมาจะเผชิญการคว่ำบาตรมากมาย และถูกโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก แต่เมียนมายังคงนำเข้าอาวุธ และวัตถุดิบการผลิตอาวุธมาได้ตลอด

เขาเสริมว่า ประชาคมโลกยังต้อง “เริ่มการล็อบบีให้หนักมากขึ้น” เพื่อให้กองทัพปล่อยแม่ของเขา และเขาเรียกร้องโลกให้จัดส่ง “สิ่งบรรเทาทุกข์ที่ดีกว่านี้ให้ประชาชนในเมียนมา ที่กำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบาก พวกเขาไม่มีใครสนับสนุน นอกเสียจากคนเมียนมาด้วยกันเอง”

อองซานซูจี

การแยกกันของครอบครัว อองซานซูจี

นายอริส และพี่ชาย ต้องแยกจากมารดานับแต่ปี 1988 ในเวลานั้น นางอองซานซูจี หรือที่รู้จักกันในสมญานามว่า “เดอะ เลดี” ได้เดินทางจากสหราชอาณาจักรไปเมียนมา เพื่อดูแลคุณแม่ที่กำลังป่วย

นางอองซานซูจี ในฐานะบุตรสาวของนายพลออง ซาน วีรบุรุษผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชของเมียนมา ได้กลายเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการทหาร เธอได้ร่วมก่อตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี แต่ก็ถูกกองทัพกักบริเวณในบ้านพักในปี 1989

ต่อมาในปี 1991 เธอไม่สามารถเดินทางออกจากเมียนมาได้ เพราะเกรงว่าหากออกไปแล้ว จะกลับเข้าเมียนมาไม่ได้ ทำให้นายอริส ซึ่งเวลานั้นอายุ 14 ปี เป็นผู้ขึ้นรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพแทน นอกจากนี้ ยังไม่ได้เดินทางกลับสหราชอาณาจักร เพื่อดูใจสามีที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งในปี 1999 ด้วย

ในที่สุด อริสก็ได้เดินทางไปหามารดาเมื่อปี 2010 ตอนที่นางอองซานซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณในบ้านพัก โดยก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากเมียนมา เขาได้มอบลูกสุนัขที่เขาซื้อจากตลาดในย่างกุ้งให้มารดาเป็นของขวัญ

“มันเป็นลูกสุนัขตัวเดียวจากลูกสุนัขทั้งหมดในกรงนั้น ที่ตื่นอยู่ มันเป็นตัวเดียวที่ได้กลับบ้านกับผม” เขาย้อนความหลัง “นับแต่นั้น มันก็เป็นสุนัขที่จงรักภักดีต่อแม่ของผมมาตลอด”

ในปี 2015 นางอองซานซูจี กลายเป็นผู้นำทางพฤตินัยของเมียนมา หลังนำพรรคเอ็นแอลดีคว้าชัยชนะแบบถล่มทลาย ในการเลือกตั้งอย่างเสรีครั้งแรกในรอบ 25 ปี และแม้เธอจะถูกวิจารณ์อย่างหนักกรณีโรฮิงญา แต่เธอก็ยังเป็นที่นิยมอย่างมากของชาวเมียนมา

สุนัขตัวนั้นคือ ไทชิโต และขณะนี้มันยังมีชีวิตอยู่ อริสเชื่อมั่นว่ามันจะได้กลับไปหามารดาของเขาอีกในเร็วๆ นี้

“กองทัพจะไม่มีวันชนะสงครามนี้ คำถามมีเพียงแค่ว่า ศึกนี้จะเนิ่นนานอีกแค่ไหน” เขากล่าว

“ยิ่งกองทัพคืนอำนาจให้แม่ผมเร็ว และยิ่งรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเร็วเท่าไหร่ ประเทศก็จะเดินหน้าได้เร็วขึ้นเท่านั้น”

ประวัติเพิ่มเติมของ อองซานซูจี

สุภาพสตรีร่างเล็กและบอบบางที่ยืนหยัดต่อสู้กับคณะทหารที่ปกครองพม่า (สภารื้อฟื้นกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของรัฐ – State Law and Order Restoration Council หรือ SLORC) ที่ปกครองพม่าด้วยอำนาจเผด็จการอันโหดเหี้ยม อองซานซูจี มีคุณสมบัติทุกประการที่จะเป็นนักการเมืองที่สามารถของประชาชนพม่า และคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเธอก็คือ ความกล้า กล้าพูด กล้าวิจารณ์ แล้วก็กล้าท้าทายคณะทหานหรือสลอร์คมาโดยตลอด

ออง ซาน ซู จี เกิดเมื่อ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1945 เมื่อเธออายุได้สองขวบกับหนึ่งเดือน อองซานบิดาของเธอซึ่งเป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของพม่า และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่า เมื่อได้เอาราชก็ถูกคนร้ายยิงตายพร้อมรัฐมนตรีในคณะอีก 8 คนเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ.1947

ข้าศึกษาในเลดี้ ศรีงาม คอลเลจในอินเดีย และค.ศ. 1964 เธอเดินางไปอังกฤษเพื่อศึกษาตอ่ในเซนต์ฮิวส์คอลเลจมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และจบปริญญาตรีในทางปรัชญารัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ เมื่อปี 1967

แต่งงานกับ ไมเคิล แอริส ในปี 1972 เมื่อแต่งงานแล้วซูจีเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิจัยของกระทรวงการต่างประเทศพม่า รับผิดชอบโดยเฉพาะในการให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าด้วยกิจการขององค์การสหประชาชาติ เดือนเมษายน 1988 เธอต้องเดินทางกลับพม่า เนื่องจากคุณแม่ของเธอป่วยนักด้วยโรคเส้นโลหิตแตก เมื่อคุณแม่ของเธออาการดีขึ้น ทีแรกเธอตั้งใจจะกลับไปทำปริญญาโทต่อ แต่สถานการณ์ทางการเมืองของพม่ากกำลังร้อนระอุ จากความไม่พอใจ ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนพม่ามีต่อการเผด็จอำนาจของนายพลเนวิน และคณะทหารในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1962 โค่นรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของอูนุ แล้วดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสังคมนิยม โดยมีนายทหารเป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องประสบความล้มเหลวในทุกด้าน

การเข้าร่วมกับประชาชนพม่า

อองซานซูจี ตัดสินใจเข้าร่วมกับประชาชนพม่า คัดค้านระบอบเผด็จการของนายพลเนวินและคณะทหาร โดยขั้นแรกเธอปลุกเร้าให้ประชาชนพม่า มีความกล้าในทางขวัญและกำลังใจที่จะต่อสู้กับทรราชเสียก่อน เมื่อประชาชนปราศจากความหวาดกลัวแล้ว ก็จะสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่สองขึ้นมาได้ ต้นฉบับ Freedom From Fear จึงเกิดขึ้นจากแนวคิดนี้เอง ซึ่งต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ได้ถูกลักลอบนำออกจากบ้านที่เธอพักอยู่ที่มีทหารล้อมรอบ และถูกส่งไปให้สามีของเธอจัดการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ แต่เป็นหนังสือที่แม้แต่ตัวผู้เขียนหรือประชาชนชาวพม่าเองก็ไม่มีโอกาสได้อ่าน

ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อประชาชนนับหมื่นที่เจดีย์าชเวดากอง ยังผลให้วันต่อมามีการเคลื่อนไหวก่อตั้งสันนิบาตประชาธิปไตย และพรรคการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเมืองใหญ่หรือเล็ก

วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1989 ถูกทหารควบคุมตัวไม่ให้ออกจากบ้าน เนื่องจากครั้งหลังๆ ที่ซูจีขึ้นปราศรัย เธอกล่าวโจมตีเนวินโดยเฉพาะ และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 สลอร์คประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลก็คือ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่ อองซานซูจี ก่อตั้ง ชนะด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคจะได้เป็นหัวหน้ารัฐบาล แต่สลอร์คตระบัดสัตย์ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ตัดสิทธิซูจีโดยเฉพาะ การกระทำนี้ทำให้สลอร์คกลายมาเป็นตัวตลกที่น่าสมเพขในสายตาของชาวโลก

ในปี ค.ศ. 1996 สลอร์คพยายามออกข่าวว่าปล่อย ออง ซาน ซู จี แล้ว แต่ความจริงเธอก็ยังไปไหนไม่ได้เช่นเดิม ไม่น่าเชื่อที่คณะทหารที่มีอาวุธครบมือจะเกรงกลัวผู้หญิงร่างเล็กบอบบางที่ไม่มีอะไรไปสู้รบด้วยเลย นอกจาก ความกลัว

 

เรื่องรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่ nanosvellsdetarragona.com

สนับสนุนโดย  ufabet369